10 พฤติกรรมอันตราย ที่ไม่ควรทำบนสมาร์ทโฟน
ในปัจจุบันมีการใช้สมาร์ทโฟนกันอย่างแพร่หลาย เรียกได้ว่าได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันไปแล้วด้วยการที่มีฟังก์ ชั่นการทำงานที่หลากหลายและสะดวกสบายกับเราอย่างมาก อาทิ การทำธุรกรรมออนไลน์, การถ่ายรูปหรือวีดีโอบนโซเชียลเน็ตเวิร์ค, การติดต่อธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์ เป็นต้น ถึงแม้จะมีข้อดีในการใช้งานแต่ก็ย่อมมีความเสี่ยงที่เกิดอันตรายจากการใช้ งานสมาร์ทโฟนได้เช่นกัน เพระาฉะนั้นพฤติกรรมการใช้งานที่ไม่ควรทำบนสมาร์ทโฟนของเรานั้นมีอะไรบ้าง
1.การที่ไม่ตั้งรหัสล็อคเครื่องหรือ Password การเข้าใช้งานเครื่องไว้ การตั้งรหัสล็อคเครื่องหรือ Password ไว้จะช่วยให้ผู้ใช้งานไม่ต้องกังวลเวลาไม่ได้อยู่กับสมาร์ทโฟนว่าจะมีผู้ใด แอบอ่านข้อมูลบนสมาร์ทโฟนหรือทำอะไรที่ประสงค์ร้ายต่อเราได้ รวมถึงการตั้งรหัสล็อคเครื่อง นั้นยังสามารถที่จะช่วยป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นจากการทำสมาร์ทโฟนหายเพื่อ ไม่ให้ข้อมูลที่สำคัญ ๆ หลุดออกไปจากสมาร์ทโฟนของผู้ใช้งานเอง
2.การตั้ง Auto Sign-in ทั้ง E-mail, ธุรกรรมทางการเงิน หรือตามเว็บไซต์ต่าง ๆ การตั้ง Auto Sign-in นั้นอาจทำให้ผู้ใช้งานเกิดความสะดวกเวลาจะเรียกใช้งานนั้น แต่ถึงอย่างนั้นการทำแบบนี้จะส่งผลร้ายให้มากกว่าความสะดวก เช่น การทำธุรกรรมทางการเงินนั้นหากเราตั้ง Auto Sign-in อาจจะทำให้เราทำธุรกรรมใด ๆ ได้โดยไม่ตั้งใจ อาทิ การพลั้งเผลอไปโดนปุ่มใดๆ ก็ตามเวลาไม่ได้ล็อคหน้าจอไว้หรือแม้แต่การทำสมาร์ทโฟนหาย เป็นต้น
3.การถ่ายวีดีโอหรือเก็บภาพถ่ายของตนเองใน ลักษณะเปลือยไว้ในโทรศัพท์ การกระทำแบบนี้ไม่สมควรทำอย่างยิ่ง เพราะว่าหากตกไปอยู่ในมือผู้ประสงค์ร้ายอาจจะทำให้เราเองต้องพบกับความสูญ เสียเป็นอย่างมาก ซึ่งนอกจากจะนำไปแบล็คเมล์เพื่อหาผลประโยชน์แล้วยังสามารถนำมาเป็นข้อต่อรอง อื่น ๆ ได้อีกด้วย
4.คลิกลิงค์การโฆษณาหรือการลุ้นของ รางวัล เรียกได้ว่ามีให้พบเห็นเป็นจำนวนมากกับลิงค์โฆษณาหรือลุ้นของรางวัล ในทุกช่องทาง เช่น ทางเว็บไซต์ ทางอีเมล์ หรือแม้แต่กระทั่งมีผู้หลอกลวงโทรมาบอกว่าได้ของรางวัล เป็นต้น เพราะฉะนั้นแล้วไม่ควรไปคลิกลิงค์เหล่านี้เพราะมันจะให้กรอกข้อมูลส่วนตัว ต่าง ๆ โดยอาจจะนำข้อมูลของเราไปใช้ในทางที่ผิดซึ่งอาจจะทำให้ส่งผลร้ายต่อตัวเรา เป็นอย่างมากเลยทีเดียว
5.การโพสต์ภาพถ่ายขณะไปเที่ยววันหยุดยาวบนโซ เชียลเน็ตเวิร์ค ซึ่งหากเป็นไปได้ก็ไม่ควรทำ เพราะว่า หากเราโพสต์ภาพถ่ายตามสถานที่ต่าง ๆ ผู้ประสงค์ร้ายซึ่งอาจเป็นคนใกล้ตัวเราก็จะรู้ได้ว่าตอนนี้คุณไม่อยู่บ้าน ซึ่งจะทำให้ผู้ประสงค์ร้ายเข้ามายกเค้าบ้านเราได้ นอกจากนี้แล้วการโพสต์ไม่ควรบอกว่าไปกี่วัน กลับวันไหน เพราะเป็นการเปิดช่องให้ผู้ประสงค์ร้ายวางแผนได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
6. การโพสต์ระบุตำแหน่ง การโพสต์ระบุตำแหน่งถือได้ว่าเป็นเรื่องที่นิยมกันในสังคมไทย แต่นั่นหมายถึงเป็นการเปิดช่องทางให้กับคนอื่น ๆ รู้ความเคลื่อนไหวของคุณได้เช่นกัน ดังนั้นแล้วก็ควรจะโพสต์อย่างเหมาะสม ไม่ควรบอกว่าไม่อยู่บ้านกี่วัน ไปเที่ยวนานเท่าใด เป็นต้น
7.การบอกข้อมูลส่วนตัวผ่านทางโทรศัพท์ ซึ่งในปัจจุบันมีการโทรมาขอข้อมูลส่วนตัวเป็นจำนวนมากหรือที่เรียกกันว่า แก๊งCallCenter โดยอาศัยการได้ของรางวัลมาเป็นตัวล่อ ดังนั้นเราจึงไม่ควรจะบอกข้อมูลส่วนตัวใด ๆ ผ่านทางโทรศัพท์ให้กับคนที่ไม่รู้จัก
8.การไม่ใส่เคสมือถือ เรียกได้ว่าอุปกรณ์เสริมนี้ถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพราะว่าการใส่เคสมือถือนั้นสามารถป้องกันโทรศัพท์ของเราจากรอยขีดข่วน การตกหล่นจากหนักเป็นเบาได้ ดังนั้นหากต้องการให้สมาร์ทโฟนอยู่กับเราไปนาน ๆ การใส่เคสมือถือจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด
9.การเชื่อมต่อ WiFi ที่ไม่รู้จัก เวลาเราจะใช้สมาร์ทโฟนเชื่อมต่อ WiFi นั้นจะเห็นว่ามีทั้ง WiFi ที่มีรหัสเชื่อมต่อและไม่มีรหัสการเชื่อมต่อ ซึ่ง WiFi ที่ไม่มีรหัสการเชื่อมต่อนั้นอาจเป็น WiFi ที่หลอกให้ใช้เพื่อเป็นการโจรกรรมก็เป็นได้ เช่น เมื่อเชื่อมต่อไปแล้ว จะมีค่าบริการตามเก็บมาภายหลัง, การดักจับข้อมูลการใช้งาน เป็นต้น
10.การที่ไม่ซื้อประกันให้กับสมาร์ทโฟน โดยในปัจจุบันนี้ไม่เพียงแต่จะมีประกันชีวิต ประกันรถยนต์ แต่ยังมีประกันสำหรับสมาร์ทโฟนอีกด้วย ดังนั้นหากต้องการให้สมาร์ทโฟนสามารถส่งเคลม ส่งซ่อม ได้อย่างสบายใจก็ควรหันมาซื้อประกันสำหรับสมาร์ทโฟน ซึ่งประกันสำหรับสมาร์ทโฟน การคุ้มครอง การจ่ายค่าความเสียหาย ก็ขึ้นอยู่กับของแต่ละค่ายที่รับประกันนั่นเอง
จะเห็นได้ว่าการใช้งานสมาร์ทโฟนถึงแม้จะมีข้อ ดี แต่ก็มีข้ออันตรายที่จะเกิดขึ้นจากการใช้งานได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นแล้วควรเรียนรู้และรู้ให้เท่าทันในการใช้งานสมาร์ทโฟนให้มากขึ้น อย่างไรก็ตามทั้ง 10 ข้อเป็นได้แค่คำแนะนำเท่านั้น ซึ่งถ้าหากขาดสติและประมาทในการใช้งานสมาร์ทโฟนก็อาจตกเป็นเหยื่อสำหรับผู้ ประสงค์ร้ายได้นั่นเอง
ขอขอบคุณสาระดีๆจาก www.siamphone.com